ปัจจุบันปัญหาสายตาไม่ใช่เกิดจากอายุที่มากขึ้นเหมือนเมื่อก่อนเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดกับเด็กเล็กที่ใช้สายตาไม่ถูกต้อง เช่นการดูมือถือ หรือใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป ทำให้ปัญหาสายตาสั้นเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย
สาเหตุของการเกิดสายตาสั้นในเด็ก
ปัญหาสายตาสั้นในเด็กเกิดจากการที่แสงไม่สามารถรวมกันได้ที่จอประสาทตา ทำให้เด็กมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน สาเหตุหลักของสายตาสั้นในเด็กมาจากการใช้สายตามากเกินไป เช่น การใช้เวลาหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน การอ่านหนังสือในแสงที่ไม่เพียงพอ หรือการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม
อาการของเด็กที่สายตาสั้น
เด็กที่มีสายตาสั้นมักจะมีการหรี่ตาเพื่อมองสิ่งที่อยู่ไกล หรือเข้ามาใกล้วัตถุเพื่อมองให้ชัดเจนมากขึ้น
การป้องกันปัญหาสายตาสั้นในเด็ก
การป้องกันปัญหาสายตาสั้นในเด็กเริ่มจากการดูแลสุขภาพตาของเด็กตั้งแต่ยังเล็ก
1.ผู้ปกครองควรจำกัดเวลาที่เด็กใช้หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น มือถือ แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5ปี ควรหลีกเลี่ยงดูหน้าจอดิจิทัล เด็กอายุ 6-17 ปี ควรดูไม่เกิน 1 ชั่วโมง/วัน เด็กอายุ 18-24 ปี ควรดูไม่เกิน 2 ชั่วโมง/วัน และควรพักทุกๆ 20 นาที และมองไปไกลๆประมาณ 20 วินาที
2.ส่งเสริมให้เด็กทำกิจกรรมที่ใช้สายตาในระยะไกล เช่น การเล่นกลางแจ้ง
3.ควรจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และส่งเสริมการอ่านหนังสือในแสงที่เหมาะสม
4.เลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสายตา เป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันสายตาสั้นในเด็ก อาหารที่มีวิตามิน A, C และ E รวมถึงอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยในการบำรุงสายตาและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสายตา
5.ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวันเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา
การรักษาสายตาสั้นในเด็ก
การใช้แว่นตาเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีสายตาสั้น การเลือกแว่นตาที่เหมาะสมควรได้รับคำแนะนำจากจักษุแพทย์เพื่อให้แว่นตามีความเหมาะสมกับระดับความสั้นของสายตา นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรใส่ใจในการดูแลและทำความสะอาดแว่นตาให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อในดวงตาของเด็ก
ปัญกาการดูแลสายตาของเด็กเล็ก ส่วนมากเป็นบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลสายตาของเด็ก การสังเกตพฤติกรรมของเด็กและพาเด็กไปตรวจสายตาเป็นประจำสามารถช่วยให้พบปัญหาได้ตั้งแต่แรกเริ่ม และให้การรักษาที่เหมาะสม นอกจากนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพตา เช่น การจัดแสงสว่างในห้องเรียนและการจำกัดการใช้หน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังมีความสำคัญในการป้องกันปัญหาสายตาในเด็ก