ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ความเป็นมาของศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่มีเรื่องราวที่ให้ได้ศึกษามากมาย โดยถือเป็นหลังฐานชนิดหนึ่งที่บรรพชนสมัยโบราณสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น ของช่วงเวลาที่มีการจารึกศิลานั้น ๆ นอกจากนี้ยังนำมาเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ และมีความหมายเป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำเอามาให้ได้ศึกษา ในการเรียนรู้ และศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การจัดลำดับเหตุการณ์ความสำคัญต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาบนหลักฐาน และเอกสารอ้างอิงนั้น ๆ ซึ่งจะถือว่าศิลาจารึกเป็นเอกสารข้อมูลปฐมภูมิ ที่มีคุณค่า สามารถนำเอามาใช้อ้างอิงเรื่องราวต่าง ๆ ได้

สำหรับ ศิลาจารึก ที่มีอายุที่เก่าแก่มากที่สุด ที่ค้นพบภายในประเทศไทย เท่าที่มีการจดบันทึก และหลักฐานทางศักราชปรากฏอยู่ด้วย คือ จารึกเขาน้อย พบที่เขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 1180 จารึกที่พบทั่วไปในประเทศไทยใช้อักษรต่างๆ กัน เช่น อักษรปัลลวะ อักษรมอญโบราณ อักษรขอมโบราณ

ตามหลักฐานที่มีการค้นพบ สำหรับ จารึก ที่เกิดขึ้นจากฝีมือคนไทย ที่ปรากฏหลักฐานเป็นอันแน่ชัด เกิดขึ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเริ่มมีการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น โดยพื้นที่แรกที่มีการก่อตั้งก็คือในแถบลุ่มแม่น้ำยมนั่นเอง โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ได้ทำการสร้าง และประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นในช่วงปีพุทธศักราช 1826

ซึ่งจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมา ทำให้ส่งผลให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องถึงในปัจจุบัน โดยที่ลายสือไทยในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) ถือว่าเป็นจารึกอักษรที่มีการค้นพบ และเป็นหลักฐานทางโบราณคดีว่าเป็นอักษรไทยที่เก่าแก่ที่สุด และไม่มีลักษณะของรูปอักษรไทยใดที่มีการปรากฏขึ้นมาที่จะมีความเก่าแก่เท่านี้ ถึงแม้ว่าจะได้พบจารึกอักษรไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นจารึกที่มีการค้นพบมาจากภูมิภาคไหนของประเทศไทย แต่หลักฐานการค้นพบก็ปรากฏเอาไว้ว่า จารึกเหล่านั้น มีอายุอยู่ระหว่างในช่วง พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมาทั้งสิ้น ซึ่งถือว่ามีอายุที่ยาวนานที่สุดเท่าที่มีการค้นพบออกมา โดยรูปแบบอักษรไทยในสมัยสุโขทัยได้เป็นแม่แบบของรูปอักษรไทยทั่วไปในสมัยปัจจุบัน

จารึกรูปอักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้วิวัฒนาการมาเป็นจารึกรูปต่าง ๆ คือ

  • จารึกอักษรไทยสมัยสุโขทัย ได้แก่จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัย จารึกวัดพระยืน  จังหวัดลำพูน และจารึกวัดเขากบ จังหวัดนครสวรรค์
  • จารึกอักษรไทยอยุธยา เช่น จารึกแผ่นดีบุกวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • จารึกอักษรไทยล้านนา เช่น จารึกวัดปราสาท จังหวัดเชียงราย
  • จารึกอักษรไทยอีสาน เช่น จารึกวัดแตนเมือง จังหวัดหนองคาย
  • จารึกอักษรธรรม เช่น จารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี