5 ขั้นตอนเปลี่ยนแม่ขี้เหวี่ยงเป็นนางฟ้าของลูก

“อารมณ์โกรธ” เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ใครก็มีอารมณ์โกรธได้ทั้งนั้น แต่อยู่ที่ว่าจะสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้มากน้อยเพียงใด ยิ่ง “คุณแม่” ที่ต้องสู้รบกับลูกจอมดื้อ โวยวาย ร้องไห้ เอาแต่ใจ แม่ที่ใจดีอยากกลายร่างเป็นนางยักษ์ได้ในชั่วพริบตา

อารมณ์โกรธกับลูกน้อย 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดก็ตามที่คุณแม่แสดงอาการโมโห เกรี้ยวกราด ใช้คำพูดที่หยาบคายและรุนแรง ตะโกนใส่ลูก นั้นเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อความรู้สึกลูก และเมื่อคุณแม่อารมณ์สงบลงแล้ว ความรู้สึกที่เสียไปแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรจัดกับอารมณ์ของตนเองเสียก่อน ด้วยวิธีง่ายๆ 3 ขั้นตอน 

1.ตั้งสติ รู้ทันอารมณ์ตัวเอง ยอมรับและควบคุมความโกรธ

เมื่อใดที่ลูกงอแง ดื้อ ไม่เชื่อฟัง หรือแสดงพฤติกรรมแย่ๆ และเริ่มทำให้คุณแม่โกรธ ให้ลองหายใจลึกๆ ให้ตั้งสติ พูดตัวเองว่าเรากำลังมีอารมณ์โกรธ  

2.เดินออกมาเพื่อสงบอารมณ์

เมื่อเรารู้ว่าตัวเองกำลังโกรธให้บอกกับลูกตรงๆว่า ด้วยน้ำเสียงสงบว่าแม่กำลังโมโห บอกกับลูกให้เขาเข้าใจว่าเราจะขอไปจัดการอารมณ์ตัวเองก่อน และจะกลับมาคุยกันใหม่อีกครั้ง จากนั้นให้เราใช้เวลาอยู่กับตัวเอง หายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลาย เมื่อใจเย็นลง วิธีนี้จะช่วยให้เรามีสติยั้งคิดมากขึ้น ไม่พลั้งเผลอทำร้ายลูก 

3.หาสาเหตุที่ทำให้โมโห

ลองสังเกตถึงปัญหาที่จะทำให้เราไม่พอใจลูกอยู่บ่อยๆ แล้วมานั่งทบทวนเพื่อหาวิธีการป้องกัน หรือแก้ปัญหานั้น  เช่น ลูกมักงอแงไม่ยอมเข้านอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เวลาทำกิจกรรมกับเขา หรือกล่อมด้วยหนังสือนิทานก่อนเข้านอนเพื่อให้หลับ แทนที่จะให้เขาเข้านอนด้วยตัวเอง 

4.บอกลูกถึงความรู้สึกของแม่ 

หากเขาทำสิ่งที่ผิดเราสามารถบอกเข้าด้วยเหตุผล โดยใช้น้ำเสียงสงบว่าแม่กำลังโกรธอยู่นะ บอกเหตุผลว่าต้องการให้ลูกทำอะไร จากนั้นนั่งรออย่างสงบ ไม่นานลูกก็จะยอมทำตามที่คุณแม่บอก เพราะท้ายที่สุดแล้ว ลูกก็ไม่อยากโดนแม่โกรธแน่นอน 

5.เตือนตัวเองไว้ ยิ่งโมโหลูก ลูกยิ่งแย่ 

ตอนที่รู้สึกโมโหขอให้บอกกับตัวเองว่า ยิ่งพูดไม่ดีกับลูกมากเท่าไร ลูกยิ่งเสียใจมากขึ้นเท่านั้น ไม่มีเด็กคนไหนอยากอยู่กับคนอารมณ์ร้าย ลูกอาจแสดงอาการต่อต้าน สายตาที่มองแม่ช่างห่างเหิน และไม่อยากอยู่ใกล้ สิ่งนี้ทำร้ายจิตใจแม่มากทีเดียว นอกจากนี้ลูกอาจเลียนแบบพฤติกรรมไปใช้กับเพื่อนและติดเป็นนิสัยได้ 

5 ขั้นตอนในการควบคุมอารมณ์ของคุณแม่เมื่อลูกน้อยมีพฤติกรรมไม่เป็นดั่งต้องการ เพื่อคุณแม่ฝึกตัวเองบ่อยต้องจะทำให้บรรยากาศระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยดีขึ้นเรื่อยๆเองคะ